เมื่อวานนี้ เกิดเหตุการณ์ น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือเรียกว่า
แพลงก์ตอนบลูม ซึ่งก็เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดในฤดูร้อนมีอุณหภูมิน้ำสูงขึ้นจากเดิม เกิดในช่วงเวลาลมสงบ เกิดจากสาหร่ายตระกูลสีน้ำเงิน โดยเฉพาะที่มีแก๊สแวคิวโอล สาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงินมักพบในแหล่งน้ำยูดทรฟิคซึ่งมีธาตุอาหารสูง และการที่เกิดฝ้าสีเขียวอยู่ที่ผิวน้ำเรียกว่า Water bloom อันตรายที่เกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยตรงก็คือ ถ้าโค กระบือ แพะ แกะ ที่ดื่มน้ำเข้าไปแล้วสาหร่าย และคนที่สัมผัสในแหล่งที่มีน้ำบลูม จะทำให้เกิดผื่นคันที่ผิวหนัง ตาอักเสบหรือถ้าหากดื่มเข้าไปก็จะทำให้ท้องร่วง และการเกิดบลูมของน้ำ ก็แสดงว่า น้ำมีคุณภาพไม่ดี ส่วนมาก็เกิดจากฝีมือของมนุษย์ ที่ปล่อยน้ำทิ้งจากบ้านเรือน และแหล่งเกษตรกรรม ซึ่งเมื่อวันนี้ก็เกิดที่บางแสน เทศบาล ประกาศห้ามลงเล่นน้ำ ซึ่งเมื่อวันที่ 11 ก.ค.59 ที่ผ่านมา น้ำทะเลชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี เกิดเปลี่ยนเป็น
สีเขียว ทำให้สัตว์น้ำลายชนิด ทั้งน้อยใหญ่ตายลอยมาเกยหาด มากมายนับได้ระยะทางยาวหลายกิโลเมตร ชาวบ้านแห่เก็บไปทำอาหาร ซึ่งทั้งนี้ยังไม่มีรายงาน ว่ามีผู้ป่วยที่กินอาหารเหล่านี้เข้าไป ซึ่งก็ขณะนี้น้ำทะเลก็ยังเป็นสีเขียวอยู่ ยังไม่ควรลงเล่นน้ำ ส่วนพ่อค้า แม่ค้าริมชายหาด ยังต้องใช้ผ้าปิดปากและจมูก เพราะน้ำส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งหลายคนก็บอกว่าเกิดขึ้นทุกปี เพียงแต่ปีนี้ เกิด 2 ครั้งแล้ว ซึ่งก็คาดว่าไม่น่าจะเกิน 2 วันก็จะกลับคืนสู่ปรกติ
ซึ่งก็เป็นการเกิดจากน้ำทะเล ขาดออกซิเจน เป็นปรากฏการณ์
ขี้ปลาวาฬ ไม่ต้องตกใจ ซึ่งก็นักท่องเที่ยวไม่กล้าลงเล่นน้ำ ทำให้บรรยากาศบางแสน ค่อนข้างเงียบเหงา เบื้องต้น ทางสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้มีการนำน้ำไปวิเคราะห์ แล้ว พยว่ายังม่รุนแรง ซึ่งก็ไม่น่าเกิน 2 อาทิตย์ก็จะกลับคืนสู่ภาวะปรกติ ซึ่งผู้อำนวยการวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า เกิดจากน้ำจืดไหลลงทะเลเป็นจำนวนมาก ทำให้สาหร่ายสีเขียว ในทะเล เติบโตเร็วกว่าปรกติ ทำให้แสงแดดไม่สามารถส่องถึงใต้ทะเลได้ ออกซิเจนในทะเลจึงลดลง เมื่อสาหร่ายเน่า และสัตว์ทะเลขอดออกซิเจนตาย น้ำจึงมีกลิ่นเหม็น ซึ่งก็ไม่ควรนำปลาทะเลไปรับประทานเพราะจะทำให้ท้องเสียได้