ข้อที่ 1 ให้พนักงานและเจ้าหน้าที่ตามหมวด 7 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีอำนาจกักตัวนักเรียนและนักศึกษา ที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือเตรียมการเพื่อก่อเหตุดังกล่าว เป้นการชั่วคราวไม่เกิน 6 ชั่วโมง และหลังจากนั้นให้ส่งพนักงานตำรวจ ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา บิดา มารดาหรือผู้ปกครอง แล้วแต่กรณี
ข้อที่ 2 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และยังยั้งพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาที่อยู่ในการปกครองดูแลของตน รวมทั้งต้องปกิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงที่ออกตามกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก ตลอดจนต้องไม่สนับสนุนหรือปล่อยปละละเลยให้เด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาในปกครองรวมกลุ่มเพื่อก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือเตรียมการเพื่อก่อเหตุดังกล่าว และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ติดตามและสอดส่องให้มีการดำเนินการอย่างเคร่งครัด
ในกรณีที่มีการพบเด็กและเยาวชน รวมกลุ่มเพื่อการกระทำตามวรรค 1 ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กและเยาวชนทีเป็นนักเรียนและนักศึกษา เพื่อให้คำแนะนำตักเตือน ทำทัณฑ์บน หรือวางข้อกำหนด ไม่ให้กระทำความผิดอีก หรือวางเงินประกัน ไว้เป็นจำนวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกเงินประกันไว้เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี หากเด็กหรือนักเรียนนักศึกษาทำผิดซ้ำอีก ก็ให้ริบเงินประกัน ให้เป็นของกองทุนคุ้มครองเด็กตามกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
ข้อที่ 3 ผู้ใด ทำการยุยงส่งเสริม ช่วยเหลือหรือสนับสนุน ให้นักเรียนนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากการกระทำตามวรรค 1 เป็นเหตุให้นักเรียนหรือนักศึกษาไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต้องระวางโทษไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้เสียชวิตเพราะการทะเลาะหรือทำร้ายร่างกายนั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( ส่วนมากก็จะเป็นรุ่นพี่ ที่ส่วนมากมักจะได้รับการสืบทอด บอกต่อกันมา )
ข้อที่ 4 ให้นักเรียนและสถานศึกษามีหน้าที่จัดให้มีกิจกรรมในการแนะแนวเพื่อตอบสนองตอ่การแก้ไขปัญหานักเรียนและนักศึกษาทะเลาะวิวาท โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกวดขันและเร่งรัดจัดทำมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรม เพื่อเปนการลดปัญหาสังคมโดยเร่งด่วน ( ซึ่งต่างก็มีแนวทางที่ดี แต่อยู่ที่เด็กด้วยว่าเด็กไม่เชื่อฟัง และสถานศึกษายังต้องการค่าเทอมอยู่ )
ข้อ 5 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เราต้องยอมรับก่อนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มีมานานนับหลายสิบปี ไม่แพ้ปัญหาชายแดนใต้ แต่ต่างกันตรงที่เด็กจะทำด้วยความคึกคะนอง ในขณะที่อยู่กับเพื่อนที่มีหมู่มาก และมีอาวุธอยู่ในมือนั่นเอง แต่สาเหตุ ต้องบอกว่ายังไม่แน่ชัด ว่าการกระทำดังกล่าวเพื่อเหตุใด ถ้าบอกเพียงต่างสถาบัน คงไม่ใช่แค่นั้น เพราะต่างที่เรียน แล้วไม่เคยมีเรื่องบาดหมาง ไม่เคยทำให้โกรษเคือง แล้วต้องมาโดนตัดสินด้วยความตาย แล้วทางโรงเรียนทำไมไม่ไล่ออก หรือว่าทางโรงเรียนนั้น ยังต้อการเด็กอยู่เพื่อที่จะมีค่าบะรุงการศึกษา การจะแก้ปัญหาจริงๆ ต้องหาสาเหตุก่อน แล้วอีกอย่างที่อยากจะบอกก็คือ ตีกัน ฆ่ากัน เพื่อที่จะเอาเข็มกลัด หรือเข็มขัด ที่มีสัญลักษณ์ ต่างสถาบันเท่านั้นเอง เหตุผลที่เล็กมากเหมือนกับ คำแก้ตัวของเด็กที่ไม่กลัวความผิดเลย ซึ่งถ้าไม่มีบทลงโทษที่รุนแรง และให่หลาบจำกันจริงๆ แล้วไซร้ เมื่อเด็กโตขึ้น จะเป็นคนที่ไม่มีคุณภาพ ก็จะไปเป็นโจรหรือไม่ก็ค้ายากันในที่สุด ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เด็กนั้น ไม่มีความคิดหรือคิดสั้นเป็ฯอย่างมากเลยจริงๆ เราน่าจะลองเอากฏหมายของต่างประเทศที่ไม่มีการอะลุ่มอะร่วย มาใช้บ้างก็น่าจะดีนะคะ อยากให้ประเทศสงบบ้างอะคะ
โดย อาหารเสริมลดน้ำหนัก ก็ชัดเจนกับกฏหมายที่ออกมาถ้ายังไม่กลัว ก็คงต้องมีมาตรการที่เด็ดขาดมากกว่านี้