เรื่องของเรื่องก็มีเจ้าของร้านกาแฟ ที่จังหวัดแพร่ได้โฟสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวระบุข้อความว่า สวัสดีครับพี่นองชาวแพร่ทุกๆท่าน ผมเป็นเจ้าของร้านกาแฟ วันนี้ผมโดนจับลิขสิทธิ์เพลงจาก... โดนข้อหาเเปิดเพลงในร้าน ซึ่งเป็นร้านขายกาแฟ โดนปรับไป 2 หมื่นบาท ผมเลยโพสต์เตือนทุกๆท่านที่มีญาติพี่น้องที่เปิดร้านอาหารทุกๆอย่าง ที่เป็นการบริการให้ลูกค้า อยากจะฝากบอกต่อ กดไลค์ กดแชร์ ไม่อยากให้ใครโดนเหมือนผม เพราะผมเสียดายเงินเสียดายทอง เลยเตือนบอกให้ทุกๆคนทราบนะครับกับการที่เราเปิดเพลงในยูทูปผิดนะครับให้ทุกๆคนที่มีร้านอย่าเปิดนะครับ ผมโดนคนเดียวเลยไม่อยากให้คนอื่นโดนเหมือนผม จึงเตือนกันมากเด้วยความหวังดี ไม่อยากให้พวกเราโดนแบบนี้กันง่ายๆครับ บอกต่อๆกันไปด้วยนะครับ ร้านเหล้าร้านอาหารเหมือนกันนะครับ ช่วงนี้ไม่ต้องฟังเพลงไทยครับผมกดแชร์เยอะๆๆๆครับ ส่วนทางด้านเฟซบุ๊กแฟนเฟจ กฏหมายอาสา แหล่งความรู้เพื่อประชาชนเพื่อความยุติธรรม ระบุว่า กรณีที่โดน ถ้าเรายอมจ่ายค่าปรับก็เท่ากับว่าเรายอมรับผิด เรียกว่าเจ็บตัวฟรี แต่มีคนที่ไม่ยอมและมีคนและต่อสู้ชนะคดีในศาลมาแล้ว โดยหลักคือ ถ้าไม่ได้เปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรง จากการเปิดเพลงถือว่าไม่ผิด เช่น ตู้เพลงถือว่าผิด ส่วนเรื่องผิดหรือไม่ผิดค่ายเพลงไม่ได้เป็นผู้ตัดสินแต่ศาลเป้นคนตัดสินต่างหาก
ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณข้อมูล เดลินิวส์ ออนไลน์ ที่ได้ค้นหาคดตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ 822/2553 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง กำลังใจที่เธอไม่รู้ อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งมีผู้ทำขั้นหรือดัดแปลงขึ้น ให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหาร และเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไร โดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ซึ่งคดีที่ ๒ มูลว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2551 โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มาตรา 31 โดยโจทก์บรรยยายฟ้องเพียงแต่ว่า จำเลยเปิดแผ่น เอ็มพี 3 และซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ร้องเพลงและฟังเพลงของผู้เสียหาย จำนวน 1 เพลง เพียงเพื่อประโยชน์ทางการค้า ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลย ซึ่งความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เพื่อหากำไร เท่านั้นแต่ตามคำของผู้ฟ้องไม่ได้ปรากฏว่า จำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการได้กำไรจากการที่ลูกค้าได้ได้ร้องและฟังเพลง โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหาผลกำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นด้วย ดังนั้นแม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจจะลงโทษจำเลยนั้นได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 ซึ่งอย่างไรก็ตามเจ้าของร้านยืนยันว่าเปิดเพลงผ่านยูทูปสุ่มเพลงไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีเจตนาจะละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับกรณีตัวอย่างที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทน จากลูกค้าในการเปิดเพลงหรือเรียกเก็บเพิ่มกับการค่าอาหาร และเครื่องดื่มแต่อย่างใด
เรื่องของคนที่ไม่รู้เรื่องนี้ก็ยังมีอีกมากมายจริงๆ ซึ่งก็เรียกว่า แทบจะไม่รู้กันทั้งหมดเลยมากกว่า เพราะหลายครั้งคนทุกคนต่างก็ยอมที่จะเสียค่าปรับไปก่อนโดยที่เรื่อง ยังไม่มีการฟ้องศาลเลยด้วยซ้ำ เพียงทนายเข้าของลิขสิทธิ์กับตำรวจมา ก็ยอมเสียแล้ว ซึ่งก็มีทั้ง ร้านโทรศัพท์และร้านคาราโอเกะ
ซึ่งทุกวันนี้ ลองออกไปถามดูได้เลยว่า มีการจ่ายรายเดือนให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงกันอยู่เลย ไม่ว่าร้านเล็กร้านใหญ่ ต่างก็โดนด้วยกันทั้งนั้น และส่วนเมื่อก่อนนั้น ก็จะเป็นการเก็บส่วยไปเลยทีเดียว ซึ่งถ้าแบบนี้เข้าข่ายไม่ผิด ก็เท่ากับว่าร้านคาราโอเกะ ก็สามารถที่จะให้บริการได้ เพราะไม่ได้มีการเรียกเก็บในค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างไร และส่วนของเพลงทุกวันนี้ นักแต่งนักประพันธ์เพลงทั้งหลายต่างก็ต้องทำงานให้หนักขึ้น เพราะว่าทำเพลงให้ดังนั้นก็ต้องนำไปลงยูทูป เพื่อให้คนนั้น ได้กดไลค์ กดแชร์ เพื่อหายอดวิว แล้วก็จะรู้ว่าเพลงตัวเองดังแค่ไหน แล้วสถานีวิทยุ สื่อโทรทัศน์ ต้องไปซื้อเช่าลิขสิทธิ์มาเปิดจะดีกว่า และยังต้องออกไปตระเวณแสดงคอนเสิร์ต เพื่อหารายได้ เพราะการขายแผ่นซีดีเพลงทุกวันนี้ + กับภาวะเศรษกิจแบบนี้อีก ก็จะยิ่งทำให้ไม่ต้องพูดถึงกันเลย เพราะเมื่อสมัยก่อนนั้น ก็จะมีแต่คนที่มีเงินเท่านั้นที่จะได้ฟังเพลง ไม่ว่าจะจากแผ่นเสียง และต่อมาก็เทปคลาสเซ็ท แล้วพัฒนามาเป็นซีดี แล้วก็มาถึงโลกปัจจุบัน ก็เป็นฮาดร์ดิสก์ กับแฟลชไดรฟ์ ซึ่งทุกวันนี้บริษัทรถหลายบริษัทต่างก็มีให้เลือกเล่นเพลงจากแฟลชไดรฟ์และฮาร์ดิสก์กันแล้วทั้งนั้น และเนื่องด้วยที่วิวัฒนาการการก๊อปปี้ มาใช้กันทั้งนั้นเพราะสามารถที่จะทำได้โดยง่าย และสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะจากยูทูป และทางสื่อต่างๆ ส่วนนักร้องและบริษัทค่ายเพลงที่ต้องการจะมีกำไรมหาศาลเหมือนสมัยก่อนนั้น ก็คงจะต้องมาวิเคราะห์การตลาดให้ดี และพัฒนาตัวเองตาม เพราะคนที่แต่งเพลงนั้น ก็มีหลายเพลงที่ใช้เวลาแต่ง เพียงไม่กี่นาทีเสร็จ ก็เพราะพริ้งติดหูกันมาจนเป็นเพลงอมตะอยู่ถึงทุกวันนี้ และเพลงไทยส่วนมากก็จะมีการเล่นจังหวะเดิมๆ คนแต่งก็คนเดิม คนแต่งหน้าให่มก็จะดังเป็นแค่เพลงเดียว ซึ่งทาง อาหารเสริมลดน้ำหนัก ก็เห็นด้วยกับศาล เพราะว่าประเทศไทยนั้น ยังไม่ได้พัฒนาและมีรายได้ที่ว่าประชาชนอยู่ดีร่ำรวย ส่วนมากก็ยังปากกัดตีนถีบ ทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำกันอยู่เลย ก็ไม่อยากให้เป็นเรื่องของลิขสิทธิ์มากไป เพราะตาสี ตาสา ต่อไปถ้าเหนื่อยมาร้องเพลงหรือฮัมเพลงที่ชอบก็จะต้องโดนจับปรับเสียแล้วกระมัง จะเอาปัญญาที่ไหนไปฟ้องร้องกับท่านๆได้ ฝากด้วยนะคะ เข้าใจคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยละกันคะ วิงวอน