วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ผ้าไหม ผ้าไทยเลอค่า ผ้าสวย มีค่ามากมาย

                เรื่องที่เกิดขึ้นก่อนก็จากการสัณนิฐาน ว่าการทอผ้าไหม เกิดขึ้น เมื่อ 2,460 ปี ก่อนคริสตกาล ผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีนและประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยนั้น มีการใช้ผ้าไหม เมื่อ 3,000 ปีก่อน เพราะได้พบหลักฐานที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นแหล่งที่ขุดพบโบราณวัตุมากมาย
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 คนไทยมีการทอผ้าไหมเพื่อใช้เองในครัวเรือน และงานบุญ เช่น งานแต่ง งานบุญ และรัชกาลที่5 ก็ได้มีการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มี เจมส์ แฮร์ริสัน ทอมป์สัน ชาวสหรัฐฯ  เป็นผู้ที่มีความชื่นชอบและหลงไหล ในความมีเสน่ห์ของผ้าไหม ได้ศึกษาลวดลายพร้อมทั้งหาช่างฝีมือดี และถูกใจช่างที่กรุงเทพมหานคร แล้วก็ให้ชุมชนบ้านครัว ( หลังโรงเเรมเอเชีย ในปัจจุบัน ) ชุมชนแห่งนี้มีความชำนาญในการทอผ้าไหม เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และจิม ทอมป์สัน ก็ได้ให้การสนับสนุนในการทอผ้า สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน และมีการปรับปรุงคุณภาพและขยายตลาด ไปสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งสหรัฐฯ และเข้าสู่วงการภาพยนต์ตะวันตกและละครบรอดเวย์ และทุกวันนี้ก็มีร้านที่เปิดที่สีลม ชื่อร้าน Jim Thomson ซึ่งก็เปิดขายไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า ผ้าผูกคอ เนคไท ลฯล ที่ทำจากผ้าไหมขายด้วย ส่วนตัวเจ้าของ นายเจมส์ แฮร์ริสัน ทอมป์สัน ก็ได้หายตัวไปอย่างปริศนา ไร้วี่แวว และร่องรอย ลึกลับ จนถึงทุกวันนี้ โดยที่ไม่มีผู้ใดรู้เห็นเลย   และเมื่อ พ.ศ.2502 นักออกแบบชาวฝรั่งเศส ได้ใช้ผ้าไหมไทยทำการออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งเยือนประเทศสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผ้าไหมไทยก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ
              เมื่อมีของแท้ ก็ต้องมีของเลียนแบบ เมื่อทุกวันนี้ ก็มีการทำเส้นใยสงเคราะห์ จากต่่างประเทศเข้ามาผลิต มีทั้งถูกกฏหมายและลักลอบนำเข้า ทำไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ผ้าไหมไทยก็มีคุณภาพต่ำลงด้วย ทำให้ผู้ซื้อไม่มีความมั่นใจด้วยว่า ไม่รู้อันไหนแท้ อันไหนลอกเลียนแบบ แต่กระนั้น ผู้ผลิตก็ยังใช้ตราสัญลักษณ์ ผ้าไหมไทย หรือ Thai Silk จากปัญหาดังกล่าว ปี พ.ศ.2545 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิช และมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ร่วมกันแก้ไข และมีการคุ้มครองไหมไทยและออกตราสัญลักษณ์ รับรองคุณภาพเป็นระดับต่างๆ ดังนี้  1. นกยูงสีทอง (  Royal Thai Silk  ) เป็นผ้าทอมือ เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
ต้องสาวเส้นด้วยมือผ่านพวงสาวลงภาชนะ ย้อมสีธรรมชาติไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 2. นกยูงสีเงิน (  Classic  Thai Silk  )  เป็นการทอแบบประยุกต์ผสมผสาน ด้วยผ้าพันธ์ๆทยพื้นบ้าน เป็นเส้นยืนหรือเส้นพุ่ง เส้นไหมต้องผ่านการสาวด้วยมือ และอุปกรณ์ ที่มีแรงขนาดไม่เกิน 5 แรงม้า และไม่ใช้ไหมพันธ์ทาง และต้องผลิตในประเทศไทย 3. นกยูงสีน้ำเงิน  (  Thai Silk ) เป็นการผลิตแบบสมัยใหม่ผสมผสานกับภูมิปัญญาไทย เพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม ย้อมด้วยสีธรรมชาติ หรือเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทอด้วยกี่ แบบใดก็ไได้ แต่ต้องผลิตในประเทศไทย 4. นกยูงสีเขียว (  Thai Silk  Blend  ) เป็นการผลิตด้วยกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และผสานกับภูมิปัญญาไทย มีเส้นไหมแท้เป็นส่วนประกอบหลัก เส้นใยอื่นเป็นส่วนประกอบรอง ทอด้วย กี่ ชนิดใดก็ได้ ย้อมด้วยสีธรมชาติหรือสารเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  และต้องผลิตในประเทศไทย
                การปลูกหม่อนไหมนั้น ก็มีการปลูกมาที่จังหวัดขอนแก่น โดยที่ใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดเลยทีเดียว   และประโยชน์ของไหมนั้นก็มีมากมาย ไม่ว่ายอดหม่อนนำมาต้มดื่มและล้างตา เพื่อบำรุงสายตา และยังสามารถลดปริมาณคอเรสเตอรอล ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต กิ่งหม่อน ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก รักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง กลิ่นฉุนเกิดจาการร้อนใน ทำให้ลำไส้ทำงานดี ขจัดความร้อนในปอดและกระเพาะอาหาร ขจัดการหมักหมมในปอดและกระเพาะอาหาร ยังรักษาอาการปวดมือ ตะคริว เหน็บชา โดยการนำหม่อนเก่าๆ มาตัดเป็นท่อน ผึ่งไว้ให้แห้ง นำมาต้มทาน ผลหมือ่นก็รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ ทำให้ผมดกดำ เมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยไทยยังพบว่าหนอนไหม นั้นมีสรรพคุณเหมือนไวอากร้า เลยทีเดียวเพราะได้ทำการดลองกับหนูแล้วได้ผล และไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานก็น่าจะผลิตเป็นอาหารเสริมได้ ก็เป็นการดี ที่จะนำมาต่อยอดให้เกษตรกรไทย ได้มีฐานะดีขึ้นด้วยอย่างแน่นอน นับได้ว่าไหมนั้นก็เป็น อาหารเสริมลดน้ำหนัก ชั้นยอดจริงที่มีสรรพคุณมมากมาย และอีกไม่นานเราก็จะได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ของไทยทำไทยใช้ไทยเจริญอย่างแน่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น