วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตามหาตำนานพระเจ้าล้านตื้อ พระพุทธรูปหล่อใหญ่สุดแห่งเชียงแสน

              ความเป็นมาก็อยากจะให้เห็นเป็นูปธรรม กํบสิ่งี่ทได้ค้นเจอและจะได้ศึกษากันต่อไป ว่าเรื่องของพระเจ้าล้านตื้อ  พระในตำนานที่เรียกว่า สมัยก่อนนั้น มีการบอกเล่าว่า เมื่อสมัยครั้งโบราณนั้นได้มีเกาะดอนแท่น อยู่บริเวณแม่น้ำโขงจากสถานีตำรวจอำเภอเชียงแสน ไปจนถึงสถานีตำรวจน้ำอำเภอเชียงแสน ยังพบรอ่งรอยโบราณสถาน อยู่ประปรายตามริมฝั่ง บริเวณที่เรียกว่าเกาะดอนแท่น อยู่ระหว่างประเทศไทยกับประเทศลว มีความกว้างสุด40 เมตร ยาว 600 เมตร ในหน้าแล้งชาวบ้านจะนำวัว ควายลงไปเลี้ยง และเคยมีการจัดงานสงกรานต์โดยที่ประชาชน 2 ประเทศมาเล่น มีการอณุญาตให้เล่น การพนัน กำถัว โป ไฮโล และประกวดฟ้อน เกาะแห่งนี้เป็นกรรมสิทธิ์ ของลาว ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส
เกาะแห่งนี้ค่อยๆ ละลายหายไปเพราะมีการขุดดินเพื่อร่อนทอง มาจากเสียงร่ำลือว่าบนเกาะมีการฝังทองคำไว้จำนวนมหาศาล เมือ่มีผู้พบทองเป็นแท่งเล็กๆ เป็นเครื่องประดับบ้างบางส่วน และบางส่วนก็เกิดจากกระเเสน้ำเซาะเป็นเวลานานด้วย จาด พ.ศ.2528 ถึง พ.ศ.2530 ก็ไม่เห็นเกาะแล้ว มีเรื่องราวเล่าขานกันมานับร้อยปีว่า เดิมทีเกาะดอนแท่นนี้ เป็นแผ่นดินที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำด้านตะวันออกในฝั่งไทย ยุคพญามังรายผู้สถาปนาเมืองเชียงแสน พ.ศ.1893 เป็นพื้นดินเชื่อมลงไปยังแม่น้ำโขง มีภูมิทัศน์งดงาม และพญามังรายได้สร้างวัดใหญ่ประจำมเืองขึ้น มีวิหารใหญ่ทำสังฆกรรม จุคนได้ถึง 1 พันคนและมีพระพุทธรุปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางเกาะ หน้าตักไม่น้อยกว่า 5 วา สถิตย์สูงตะหง่านอยู่ จากการประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 ศวาดารเมืองยางเชียงแสน โยนกและชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถุึงเกาะแห่งนี้สอดคล้องกับเรื่องราวในตำนาน สันณิฐานว่า เมื่อน้ำโขงเปลี่ยนเส้นทาง แล้วเกิดการกัดเซาะ จนกลายเป็ฯเกาะกลางน้ำโขง ซึ่งเดิมนั้น ชาวบ้านก็จะกล่าวถึงเกาะหลวงคือ เกาะดอนแท่นในปัจจุบัน เมื่อน้ำเปลี่ยนทิศ และน้ำเกิดท่วมเกาะ น้ำที่มีกระเเสแรงก็ทำลายทั้ง โบสถ์ วิหาร เสนาสนะ รวมไปถึงพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ท่ชาวเชียงแสนและชาวลาวเรียกว่า พระเจ้าล้านตื้อ ก็อันตธานล่มสลายไปด้วย และตำนานยังกล่าวว่า ยังมีวัดอยู่บนเกาะอยู่อีกถึง 10 วัด และมีชื่อเรียกว่า เกาะบัลลังค์ตระการ ซึ่งคำว่าตื้อ นี้ก็มีความหมายว่าหนักมาก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะรวมไปถึง หลวพ่อองค์ตื้อที่อยุ่ที่ ท่าบ่อ จังหวัดหนองคายด้วยหรือเปล่า ถ้ามีข้อเกียวข้อง ทาง อาหารเสริมลดน้ำหนัก ก็จะหาข้อมูลมาให้เพิ่มเติมนะคะ มาต่อเรื่องพระเจ้าล้านตื้อ การค้นพบพระรัศมี เมื่อปี พ.ศ.2479 ที่หล่อด้วยสัมฤมธิ์ ขนาดใหญ่ ชิ้นหนึ่งกลางแม่น้ำโขง ซึ่งนายต้น และนายพิพัฒน์ และนายบุญช่วย ได้รับจากผู้พบ นำมาเก็ไว้ที่วัดคว้าง หลังตลาดเชียงแสนปัจจุบัน พระเศียรพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่  ที่ชาวบ้านหาปลา ชื่อนายเหล็ก และนายเลย ( ผู้เป็นปู่ ) เมื่อ พ.ศ. 2474 โดยได้เล่าว่า ได้เห็นเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ โผล่ขึ้นมากลางน้ำ ไม่มีรัศมีบนพระเกศมาลา พระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ และเมื่อเก็บมาได้ 6 เดือนก็ย้ายมาไว้ที่วัดมุงเมือง และปัจจุบันก็ได้มารีกษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ แต่ก็เกิดเรืองมหัศจรรย์ เมื่อมีชาวลาว ซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ชื่อนายเพี้ยสมบูรณ์ ได้ฝันว่าพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวล้มควำ่ พระเศียรปักลง หันไปทางใต้ และในปี พ.ศ. 2493 เดือนกุมภาพันธ์ นายเพี้ยได้ทำ พิธีตั้งศาลเพียงตา และเตรียมเรือเหล้กขนาดใหญ่ 2 ลำ ช้าง 4 เชือก แต่ก็ไม่สามรถที่จะดำเินการสำเร็จได้ เนืองจากกระแสน้ำไหลแรง และน้ำเย็นมากด้วย และเมื่อ พ.ศ. 2009 บริษัทอิตาเลี่ยนไทย จำกัด ได้สัมปทาน สร้างสนามบินที่เมืองหลวงพระบาง และได้ใช้อำเภอเชียงแสนเป็นที่พักชั่วคราว และได้รับเหมาสร้างถนนในเมืองเชียงแสนด้วย และนายสง่า ไชยพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยนั้น ได้ขอให้บริษัทดังกล่าวได้ส่งนักประดาน้ำลงค้นหา โดยการค้นหาตั้งแต่ด้านเหนือ ออกไปที่บริเวณน้ำวน นักประดาน้ำมือดีก็ยังยอม พบเพียงพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ทำอยู่สักระยะหนึ่งก็เลิกลากันไป จนถึงปัจจุบัน พระเจ้าทองทิพ ( พระเจ้าล้านตื้อ  )  จากการสันนิฐานว่าน่าจะจส ลงไปก่อนที่จะมีสนธิสัญญากับประเทศฝรั่งเศส  และเหตุที่มีการเผาเมืองเชียงแสนเมื่อปี พ.ศ. 2469 แล้วก็เป็นเมืองร้างไปในปี พ.ศ.2417   ปัจจุบันก็ยังไม่มีการค้นหาพระล้านตื้ออีกเลย และอาจด้วยเมื่อเกิดมีการค้นพบแล้วก็อาจจะกลายเป็รปัญหาระหว่างประเทศไทย กับลาวก็เป็นได้ ซึ่งก็อาจจะหาข้อยุติในการอันเชิญประดิฐษฐานก็เป็นได้ และก็ได้มีการสร้างพระพุทธรูปล้านตื้อ น้ำหนัก 69 ตัน กว้าง 9.99 เมตร สูง 15 เมตร ประทับอยู่บนเรือนแก้วกุศล เฉลิมพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมราชินีนาถ พระพุทธรูปองค์นี้ มีพระนามว่า พระพุทธนวล้านตื้อ ซึ่งก็เป็นพระพุทธรูปจำลอง จากพระพุทธรูปล้านต้อ นั่นเอง ซึ่งพระล้านตื้อนั้น ถ้าพบก็คงจะเป็นพระพุทธ ที่หล่อได้ใหญ่ที่สุดในประเทศ และคงจะมีพุทธลักษณะที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง ตำนานก็คงเป็ฯตำนานรออกว่าเมื่อไหร่ ที่ไม่มีข้อกังขาระหว่าง 2 ประเทศแล้วก็คงจะมีความร่วมมือกันในการค้นหา เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์กันต่อไป ว่าประเทศไทยและลาวในยุคนั้น มีความเป็นอยู่และความเป็นมาอย่างไร นี่เป็นสิ่งที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งและจะได้รู้ด้วยว่าในยุคสมัยนั้น เกิดอะไรขึ้นบ้างนั่นเอง ( ช้างเลี้ยงจะเรียกว่า เชือก ส่วนช้างป่าจะเรียกว่า ตัว )